ระบบสนับสนุนการตัดสินใจการจัดการเติมน้ำใต้ดิน

บ่อวงตื้น

เป็นการใช้บ่อวงเป็นบ่อเติมน้ำใต้ดิน โดยรวบรวมน้ำจากน้ำฝนที่ไหลบ่าบริเวณผิวดิน ให้ไหลเข้าสู่บ่อวง แล้วเติมลงสู่ชั้นน้ำใต้ดินต่อไป องค์ประกอบต่าง ๆ ของการเติมน้ำผ่านบ่อวงจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับบ่อเติมน้ำผ่านหลังคา แตกต่างกันเพียงน้ำที่จะใช้เติมลงสู่ชั้นน้ำใต้ดินนั้นจะรับน้ำจากผิวดินที่ได้ทำการปรับพื้นดินให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าสู่ระบบเติมน้ำที่เหมาะสม แล้วไหลเข้าสู่ระบบบำบัดคุณภาพน้ำที่ถูกสร้างไว้รอบ ๆ บ่อวง โดยทำการขุดรอบ ๆ บ่อวงให้มีขนาดความกว้าง 1.6 เมตร ยาว 1.6 เมตร และลึก 1.5 เมตร (อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่ก่อสร้าง) พร้อมติดตั้งท่อกรุ PVC นำน้ำที่บำบัดแล้วเข้าสู่บ่อเติมน้ำ

แบบก่อสร้าง

Download แบบก่อสร้าง

×

ขั้นตอนการก่อสร้าง

1. สำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมในการก่อสร้างระบบเติมน้ำใต้ดินแบบบ่อวงตื้น

2. ขุดหลุมกว้าง 1.6 x 1.6 x 1.5 เมตร (กว้างxยาวxลึก) ต่อระบบเติมน้ำใต้ดินแบบบ่อวงตื้น 1 ระบบ ในรูปเป็นระบบเติมน้ำฯ วางต่อเนื่องกัน 3 ระบบ จึงทำให้ต้องขุดหลุมยาวต่อเนื่องกัน 4.8 เมตร (1.6 x 3 เมตร)

3. วางบ่อวงคอนกรีตขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8 เมตร สูง 0.5 เมตร จำนวน 3 ท่อน โดยก้นบ่อจะเปิดไว้ สำหรับเป็นพื้นที่ให้น้ำซึมผ่านและเติมลงสู่ใต้ดิน จากนั้นนำกรวดถมบริเวณโดยรอบบ่อวงคอนกรีต

4. วางท่อ PVC เซาะรอง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 0.35 เมตร เจาะทะลุบ่อเติมน้ำให้ตั้งฉากกัน 4 ทิศทางเพื่อรวบรวมน้ำเข้าสู่บ่อเติมน้ำ

5. เติมกรวดคละขนาดให้เต็ม และดูแลความสะอาดโดยรอบ โดยไม่ให้กีดขวางทางน้ำ

จำนวนระบบเติมน้ำใต้ดินที่เหมาะสมต่อพื้นที่รับน้ำ

ควรก่อสร้าง 7 ถึง 16 จุด ต่อพื้นที่รับน้ำ 1 ไร่

ข้อดี

  1. ใช้พื้นที่ในการก่อสร้างน้อย
  2. สามารถก่อสร้างได้ง่าย
  3. สามารถเติมน้ำไต้ดินได้ในปริมาณที่มากด้วยต้นทุนที่ค่อนข้างต่ำ
  4. สามารถกรองเศษกิ่งไม้และใบไม้ที่มากับน้ำได้

ข้อจำกัด

  1. จำเป็นต้องตรวจสอบและทำความสะอาดระบบเติมน้ำฯ อย่างสม่ำเสมอ
  2. มีโอกาสเกิดการอุดตันสูง
  3. คุณภาพน้ำที่ไหลเข้าสู่ระบบอาจมีการปนเปื้อนของสารเคมี
  4. ปริมาตรความจุของน้ำค่อนข้างน้อย

ราคาต้นทุน

5,000 บาท ต่อ 1 จุด

คำนวณปริมาณการเติมน้ำ

สระเติมน้ำ

เป็นวิธีที่ประยุกต์มาจากวิธีการเติมน้ำผ่านสระน้ำที่ต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ ทำให้สูญเสียพื้นที่ในการใช้ประโยชน์ ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาระบบเติมน้ำผ่านสระน้ำแบบที่ใช้พื้นที่น้อย ง่าย ประหยัด แต่มีประสิทธิภาพสูง อีกทั้งยังสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้น้ำในพื้นที่ เป็นวิธีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งออกแบบให้เป็นสระน้ำขนาดเล็กรูปทรงจัตุรัส กว้างและยาว 12 ถึง 50 เมตร (อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่ก่อสร้าง) ความลึก 5-10 เมตร ตามความลึกของชั้นดินเหนียวที่ปิดทับผิวดินบริเวณนั้น ๆ น้ำจะไหลเข้าสู่ระบบเติมน้ำด้านบน และจะเติมลงสู่ชั้นน้ำใต้ดินต่อไป บริเวณโดยรอบสระจะปรับคันดินให้สามารถเพาะปลูกไม้ผลได้ตามความต้องการของเจ้าของพื้นที่

แบบก่อสร้าง

Download แบบก่อสร้าง

×

ขั้นตอนการก่อสร้าง

1. ดำเนินการสำรวจพื้นที่และรังวัด สำหรับก่อสร้างระบบเติมน้ำใต้ดินแบบสระเติมน้ำ

2. ขุดสระเติมน้ำให้มีความกว้าง ความยาว และความลึกตามที่กำหนดไว้ในแบบ ความลาดเอียงขึ้นอยู่กับชนิดดิน หากเป็นดินเหนียวให้ใช้ความลาดเอียงเป็น 1:1 ดินร่วน 1:1.5 และดินทราย 1:2

3. ดำเนินการขุดร่องหรือวางท่อน้ำเข้า โดยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่รับน้ำและปริมาตรของสระ

จำนวนระบบเติมน้ำใต้ดินที่เหมาะสมต่อพื้นที่รับน้ำ

สระเติมน้ำที่มีปริมาตรน้อยกว่าหรือเท่ากับ 912 ลบ.ม. (ขนาดสระ 20×16×6 เมตร ความชัน 1:1) ต้องมีพื้นที่รับน้ำอย่างน้อย 10 - 19 ไร่

ข้อดี

  1. เติมน้ำใต้ดินได้ปริมาณที่สูงต่อปี
  2. สามารถเติมน้ำไต้ดินได้ในปริมาณที่มากด้วยต้นทุนที่ค่อนข้างต่ำ
  3. สามารถเก็บกักน้ำได้ปริมาณที่มาก
  4. ค่าบำรุงรักษาค่อนข้างน้อย

ข้อจำกัด

  1. ต้องการพื้นที่สำหรับก่อสร้างขนาดใหญ่
  2. คุณภาพน้ำที่ไหลเข้าสู่ระบบอาจมีการปนเปื้อนของสารเคมี
  3. เกิดการสูญเสียน้ำขณะเก็บกัก (จากการระเหย)

ราคาต้นทุน

ราคาต้นทุนในการขุด 35-45 บาท/ลบ.ม. (ราคานี้ไม่รวมค่าก่อสร้างทางเข้าน้ำ)

คำนวณปริมาณการเติมน้ำ

หลังคา

เป็นวิธีการรวบรวมน้ำฝนจากหลังคา อาคารหรือบ้านเรือน แล้วส่งต่อลงบ่อน้ำตื้นหรือหลุมที่มีทรายหรือกรวดบรรจุอยู่ วิธีการนี้เปรียบเสมือนการนำน้ำฝนที่เหลือใช้ไปเก็บไว้ใต้ดิน เพื่อนำน้ำขึ้นมาใช้ในช่วงที่ขาดแคลน การเติมน้ำโดยวิธีนี้สามารถทำได้ในพื้นที่ชุมชนที่มีหลังคาหรือส่วนที่รองรับน้ำฝน เป็นอีกวิธีการเติมน้ำที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหลายๆ ประเทศ เนื่องจากน้ำดิบที่ใช้เติมเป็นน้ำสะอาดหรือมีการปนเปื้อนน้อย ทำให้มีระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำไม่ยุ่งยาก ทุกครัวเรือนสามารถดำเนินการได้เอง ในขณะที่ประสิทธิภาพการเติมน้ำสูง เนื่องจากคุณภาพน้ำดิบเป็นน้ำที่มีความขุ่นน้อย ทำให้ไม่มีผลต่อการอุดตันของระบบในอนาคต โดยได้พัฒนาจากรูปแบบของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลที่มีการทดลองใช้อยู่ในปัจจุบัน และจากรูปแบบที่ใช้ในประเทศอื่นๆ เช่น ออสเตรเลีย อินเดีย อเมริกา เยอรมนี เป็นต้น

แบบก่อสร้าง

Download แบบก่อสร้าง

×

ขั้นตอนการก่อสร้าง

1. ขุดหลุมเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 0.8 เมตร ความลึกประมาณ 6 เมตร หรือเหนือระดับน้ำใต้ดิน 1 – 2 เมตร เพื่อให้เกิดการซึมผ่าน ซึ่งจะสังเกตได้จากดินที่ขุดขึ้นมามีความชื้น

2. ลงบ่อวงคอนกรีตขนาด 0.8 เมตร ทีละวงจนถึงความลึกที่กำหนด โดยวงคอนกรีตนี้จะทำหน้าที่เป็นผนังกั้นไม่ให้ดินถล่มลงมา

3. บริเวณช่องว่างรอบ ๆ บ่อวง ใช้กรวดเทปิดให้เต็ม

4. วางตะแกรงเหล็กไว้สำหรับกันคนตกลงไปในบ่อ จากนั้นนำบ่อวงคอนกรีตมาวางไว้ด้านบนตะแกรงเหล็กอีกทีให้สูงเหนือระดับพื้นดินขึ้นมาประมาณ 0.5 เมตร จากนั้นฉาบด้วยปูนให้แน่นและไม่ให้เกิดรูรั่ว

5. ติดตั้งรางน้ำฝน เพื่อรวบรวมน้ำฝนจากหลังคาบ้านเรือน หากมีรางน้ำฝนเดิมอยู่แล้ว ให้ตรวจสอบและแก้ไขให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

6. จากนั้นก่อสร้างระบบท่อเชื่อมต่อจากหลังคาสู่บ่อเติมน้ำ

จำนวนระบบเติมน้ำใต้ดินที่เหมาะสมต่อพื้นที่รับน้ำ

ต้องมีพื้นที่หลังคาอย่างน้อย 50 ตารางเมตร

ข้อดี

  1. สามารถใช้ประโยชน์จากรางน้ำฝนและหลังคาที่มีอยู่เดิมแล้ว
  2. สามารถนำน้ำไปใช้อุปโภค-บริโภค ได้
  3. บำรุงรักษาได้ง่าย

ข้อจำกัด

  1. ปริมาตรความจุของน้ำค่อนข้างน้อย
  2. ราคาต้นทุนค่อนข้างสูง
  3. อัตราการซึมน้อย

ราคาต้นทุน

50,000 ถึง 60,000 บาท ต่อ 1 จุด (หากมีระบบรางน้ำเดิมอยู่แล้ว ต้นทุนก็จะต่ำกว่านี้)

คำนวณปริมาณการเติมน้ำ

แบบร่อง

เป็นวิธีการรวบรวมน้ำฝนและน้ำผิวดินที่ไหลหลากเข้าสู่ระบบเติมน้ำ ป้องกันการชะล้างหน้าดินรวมไปถึงการป้องกันไม่ให้หน้าดินถูกน้ำพัดพาไป ควรก่อสร้างให้กระจายทั่วพื้นที่ไม่ควรก่อสร้างกระจุกไว้ใกล้กัน เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในดิน โดยแต่ละคลองหรือร่องจะมีขนาดความยาว 3 - 10 เมตร กว้าง 1 เมตร และลึก 0.5 - 1 เมตร (อาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับชนิดของดิน และความเหมาะสมของพื้นที่ก่อสร้าง)

แบบก่อสร้าง

Download แบบก่อสร้าง

×

ขั้นตอนการก่อสร้าง

1. สำรวจจุดก่อสร้างและพื้นที่รับน้ำ

2. ขุดหลุมกว้าง 1 เมตร ยาว 10 เมตร และลึก 1 เมตร ณ จุดที่น้ำไหลมารวมกัน

3. ทำความสะอาดบริเวณโดยรอบระบบเติมน้ำใต้ดิน เพื่อไม่ให้กีดขวางทางน้ำและสามารถรองรับน้ำได้เต็มที่

จำนวนระบบเติมน้ำใต้ดินที่เหมาะสมต่อพื้นที่รับน้ำ

พื้นที่รับน้ำ 1 ไร่ ควรก่อสร้าง 1 - 3 ร่อง

ข้อดี

  1. ใช้พื้นที่ในการก่อสร้างน้อย
  2. สามารถก่อสร้างได้ง่าย
  3. สามารถเติมน้ำใต้ดินได้ในปริมาณที่มากด้วยต้นทุนที่ค่อนข้างต่ำ
  4. ราคาต้นทุนค่อนข้างต่ำ

ข้อจำกัด

  1. ปริมาตรความจุของน้ำค่อนข้างน้อย
  2. ระบบเติมน้ำฯ ตื้นเขินเร็ว
  3. คุณภาพน้ำที่ไหลเข้าสู่ระบบอาจมีการปนเปื้อนของสารเคมี

ราคาต้นทุน

ราคาต้นทุน 60 บาท/ร่อง

คำนวณปริมาณการเติมน้ำ
รายละเอียดระบบเติมน้ำใต้ดิน
ระบบเติมน้ำฯ ที่ประเมิน
พื้นที่ก้นระบบเติมน้ำฯ


ขนาดพื้นที่รับน้ำ
ไร่ งาน ตร.ว.

ตร.ม.
ชนิดดิน (Soil type)
การใช้ประโยชน์ที่ดิน
ข้อมูลภูมิอากาศรายเดือน
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
ปริมาณฝน (มม.) default 0.00 0.97 11.54 54.87 93.06 144.54 183.41 208.03 228.86 199.40 6.40 0.00
ปริมาณฝน (มม.) 0.00 0.97 11.54 54.87 93.06 144.54 183.41 208.03 228.86 199.40 6.40 0.00
การระเหย (mm/day) default 4.24 4.75 5.19 5.22 4.71 3.89 3.67 3.83 3.67 3.62 4.11 4.20
การระเหย (mm/day) 4.24 4.75 5.19 5.22 4.71 3.89 3.67 3.83 3.67 3.62 4.11 4.20
กราฟปริมาณการเติมน้ำใต้ดิน
ผลการคำนวณ
ปริมาณการเติมน้ำทั้งปี ลบ.ม.
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
น้ำท่า (ลบ.ม.)
การซึม (ลบ.ม.)
ปริมาณน้ำที่เติม (ลบ.ม.)