ระบบสนับสนุนการตัดสินใจการจัดการเติมน้ำใต้ดิน

เลือกระบบเติมน้ำฯ ที่เหมาะสม
แหล่งน้ำที่ใช้เติม
ชนิดดิน (Soil type)
การใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land use)
วัตถุประสงค์ในการเติมน้ำฯ
ขนาดของระบบเติมน้ำ
ไม่มีรูปแบบเติมน้ำที่เหมาะสมจาก ตัวแปรที่เลือก
บ่อวงตื้น

เป็นการใช้บ่อวงเป็นบ่อเติมน้ำใต้ดิน โดยรวบรวมน้ำจากน้ำฝนที่ไหลบ่าบริเวณผิวดิน ให้ไหลเข้าสู่บ่อวง แล้วเติมลงสู่ชั้นน้ำใต้ดินต่อไป องค์ประกอบต่าง ๆ ของการเติมน้ำผ่านบ่อวงจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับบ่อเติมน้ำผ่านหลังคา แตกต่างกันเพียงน้ำที่จะใช้เติมลงสู่ชั้นน้ำใต้ดินนั้นจะรับน้ำจากผิวดินที่ได้ทำการปรับพื้นดินให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าสู่ระบบเติมน้ำที่เหมาะสม แล้วไหลเข้าสู่ระบบบำบัดคุณภาพน้ำที่ถูกสร้างไว้รอบ ๆ อ่านต่อ...

สระเติมน้ำ

เป็นวิธีที่ประยุกต์มาจากวิธีการเติมน้ำผ่านสระน้ำที่ต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ ทำให้สูญเสียพื้นที่ในการใช้ประโยชน์ ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาระบบเติมน้ำผ่านสระน้ำแบบที่ใช้พื้นที่น้อย ง่าย ประหยัด แต่มีประสิทธิภาพสูง อีกทั้งยังสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้น้ำในพื้นที่ เป็นวิธีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งออกแบบให้เป็นสระน้ำขนาดเล็กรูปทรงจัตุรัส อ่านต่อ...

หลังคา

เป็นวิธีการรวบรวมน้ำฝนจากหลังคา อาคารหรือบ้านเรือน แล้วส่งต่อลงบ่อน้ำตื้นหรือหลุมที่มีทรายหรือกรวดบรรจุอยู่ วิธีการนี้เปรียบเสมือนการนำน้ำฝนที่เหลือใช้ไปเก็บไว้ใต้ดิน เพื่อนำน้ำขึ้นมาใช้ในช่วงที่ขาดแคลน การเติมน้ำโดยวิธีนี้สามารถทำได้ในพื้นที่ชุมชนที่มีหลังคาหรือส่วนที่รองรับน้ำฝน เป็นอีกวิธีการเติมน้ำที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหลายๆ ประเทศ เนื่องจากน้ำดิบที่ใช้เติมเป็นน้ำสะอาดหรือมีการปนเปื้อน อ่านต่อ...

แบบร่อง

เป็นวิธีการรวบรวมน้ำฝนและน้ำผิวดินที่ไหลหลากเข้าสู่ระบบเติมน้ำ ป้องกันการชะล้างหน้าดินรวมไปถึงการป้องกันไม่ให้หน้าดินถูกน้ำพัดพาไป ควรก่อสร้างให้กระจายทั่วพื้นที่ไม่ควรก่อสร้างกระจุกไว้ใกล้กัน เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในดิน โดยแต่ละคลองหรือร่องจะมีขนาดความยาว 3 - 10 เมตร กว้าง 1 เมตร และลึก 0.5 - 1 เมตร อ่านต่อ...